วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ประวัติผู้แต่ง


       ประวัติสุนทรภู่

  ผู้แต่งเรื่อง นิราศภูเขาทอง
พระสุนทรโวหาร (ภู่) มีนามเดิมว่า ภู่ เป็นบุตรขุนศรีสังหาร (พลับ) และแม่ช้อย เกิดในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือนแปด ขึ้นหนึ่งค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาสองโมงเช้า ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙ ที่บ้านใกล้กำแพงวังหลังคลองบางกอกน้อย
     
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
                                                                                                               
      
  ผลงานของสุนทรภู่

 ประเภทของนิราศ 
           1.นิราศเมืองแกลง (พ.ศ. 2349) - แต่งเมื่อหลังพ้นโทษจากคุก และเดินทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง 
   2.นิราศพระบาท (พ.ศ. 2350) - แต่งหลังจากกลับจากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีในวันมาฆบูชา
         3.นิราศภูเขาทอง  (ประมาณ พ.ศ. 2371) - แต่งโดยสมมุติว่า เณรหนูพัด เป็นผู้แต่งไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดอยุธยา
         4.  นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ. 2374) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผลงานเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลง    
       5.นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ. 2375) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะตามลายแทงที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ (ไม่ปรากฏว่าที่จริงคือวัดใด) ที่จังหวัดอยุธยา
            6. นิราศอิเหนา (ไม่ปรากฏ, คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 3) แต่งเป็นเนื้อเรื่องอิเหนารำพันถึงนางบุษบา    
        7. รำพันพิลาป (พ.ศ. 2385) - แต่งเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม แล้วเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จึงบันทึกความฝันพร้อมรำพันความอาภัพของตัวไว้เป็น "รำพันพิลาป" จากนั้นจึงลาสิกขา
         8.  นิราศพระประธม (พ.ศ. 2385) - เชื่อว่าแต่งเมื่อหลังจากลาสิกขาและเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปนมัสการพระประธมเจดีย์ (หรือพระปฐมเจดีย์) ที่เมืองนครชัยศรี
          9.นิราศเมืองเพชร (พ.ศ. 2388) - แต่งเมื่อเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อว่าไปธุระราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง นิราศเรื่องนี้มีฉบับค้นพบเนื้อหาเพิ่มเติมซึ่ง อ.ล้อม เพ็งแก้ว เชื่อว่า บรรพบุรุษฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชร

 ประเภทนิทาน  
         1. เรื่องโคบุตร
         2. เรื่องพระอภัยมณี
         3. เรื่องพระไชยสุริยา
         4. เรื่องลักษณวงศ์
         5. เรื่องสิงหไกรภพ

ประเภทสุภาษิต
          1. สวัสดิรักษา คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์
          2.สุภาษิตสอนหญิง เป็นหนึ่งในผลงานซึ่งยังเป็นที่เคลือบแคลงว่า สุนทรภู่เป็นผู้ประพันธ์จริงหรือไม่
          3.เพลงยาวถวายโอวาท คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว

ประเภทบทละคร
        1.เรื่องอภัยณุรา ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อถวายพระองค์เจ้าดวงประภา พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประเภทบทเสภา   
           1. เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอนกำเนิดพลายงาม)      
          2. เรื่องพระราชพงศาวดาร

ประเภทบทเห่กล่อม
          แต่งขึ้นสำหรับใช้ขับกล่อมหม่อมเจ้าในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ กับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เท่าที่พบมี 4 เรื่อง ดังนี้
          1.เห่จับระบำ
          2.เห่เรื่องพระอภัยมณี
         3.เห่เรื่องโคบุตร
         4.เห่เรื่องกากี 
                                                                                                                                                         ที่มา:https://hilight.kapook.com
        

ประวัติความเป็นมาของนิราศภูเขาทอง


 ประวัติความเป็นมาของนิราศภูเขาทอง
    นิราศภูเขาทอง บทประพันธ์เอกของสุนทรภู่ ได้ประพันธ์นิราศภูเขาทองขณะที่อายุได้ 42 ปี โดยใจความของนิราศภูเขาทองได้พรรณนาเรื่องราวในช่วงเวลาหลังจากบวชมาหลายพรรษาแล้ว  และอยู่ในระหว่างการเดินทางไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อปีพ.ศ. 2371 ซึ่งระหว่างทางนั้นได้เกิดความอาลัยถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แม้ว่าท่านทรงเสด็จสวรรคตไปหลายปี โดยเมื่อเห็นภาพต่าง ๆ ระหว่างเดินทาง มักทำให้ย้อนนึกถึงเรื่องราวเมื่อครั้งอดีต  นอกจากนี้ยังมีการเปรียบเปรยการใช้ชีวิตเมื่อยังหนุ่ม กับชีวิตในขณะปัจจุบันที่ผ่านการปฏิบัติธรรมทำให้มีมุมมองชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิม  
   
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

                
                                                         ที่มา:https://www.google.co.th/search?biw







ลักษณะคำประพันธ์

ลักษณะคำประพันธ์
               นิราศภูเขาทองแต่งด้วยกลอนแปด มีความยาวเพียง 89 คำกลอนเท่านั้น แต่มีความไพเราะ และเรียบง่าย ตามแบบฉบับของสุนทรภู่ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย บรรยายความรู้สึกขณะเดียวกันก็เล่าถึงสภาพของเส้นทางที่กำลังเดินทางไปด้วย ท่านมักจะเปรียบเทียบชีวิตและโชคชะตาของตนกับธรรมชาติรอบข้างที่ตนได้เดินทางผ่านไป มีหลายบทที่เป็นที่รู้จักและท่องจำกันได้
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ลักษณะคำประพันธ์นิราศภูเขา
                                                                                   ที่มา: https://hilight.kapook.com    

เรื่องย่อ นิราศภูเขาทอง

   นิราศภูเขาทอง
สุนทรภู่ออกเดินทางทางเรือพร้อมกับพัดบุตรชายที่เกิดจากนางจันภรรยาคนแรกของสุนทรภู่ในเดือน ๑๑ ช่วงออกพรรษาและรับกฐินแล้ว จากวัดราบูรณะล่องเรือผ่านถานที่ต่างๆ ได้แก่ พระบวมมหาราชวัง วัดประโคนแก โรงเหล้า บางจาก บางพลู บางพลัด บางโพธิ์ บ้านญวน วัดเขมาภิรตาราม ตลาดแก้ว ตลาดขวัญ แขวงเมืองนนทบุรี บางธรณี ย่านเกร็ด(บ้านมอญ) บางพูด บ้านใหม่ บางเดื่อ บางหลวงเชิงราก สามโคก บ้านงิ้ว เกาะราชคราม วัดหน้าพระเมรุ จนถึงสถานที่ปลายทางคือพระเจดีย์ภูเขาทอง วัดภูเขาทอง จังวัดนครศรีอยุธยา  สุนทรภู่ไดไปกราบนมัสการพระบรมธาตุที่บรรจุในพระเจดีย์ภูเขาทอง ณ ที่นี้สุนทรภู่พบพระธาตุในเกสรดอกบัวจึงอัญเชิญใส่ขวดแก้วนำมาวางไว้ที่หัวนอนเพื่อบูชา แต่ถึงเมื่อรุ่งเช้าพระธาตุกลับหายไป ทำให้สุนทรภู่เสียใจมา หลังจากนั้นจึงเดินทางกลับกรุงเทพฯ และขึ้นบกที่ท่าน้ำวัดอรุณราชวรารามพระเจดีย์ภูเขาทอง วัดภูเขาทอง






นิราศเรื่องสุนทรภู่ไม่เน้นการรำพันถึงความรักและการจากหญิงคนรักมากนัก เพราะเป็นเพียงการสมมุติ มิได้มีหญิงคนรักจริง เนื้อเรื่องส่วนใหญ่เป็นการรำพึงรำพันเกี่ยวกับชีวิตของนิราศภู่เขาทองเอง เช่น ความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตสุนทรภู่จึงเหมือนขาดที่พึ่ง การกล่าวถึงชีวิตที่ตกอับไร้บุญวาสนา
       ดังปรากฏในตอนหนึ่งของนิราศภูเขาทองว่า

เคยหมอบใกล้ได้กลิ่นสุคนธ์ตลบ    ละอองอบรสรื่นชื่นนาสา


สื้นแผ่นดินสิ้นรสสุคนธา           วาสนาเราก็สิ้นเหมือนกลิ่นสุคนธ์

                                                                                                                              ที่มา: https://www.google.co.th

วัฒนธรรมในด้านต่างๆของนิราศภูเขาทอง

วัฒนธรรมด้านความรัก: ก็คือความจงรักภักดีที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเลิศหล้านภาลัย เมื่อพระองค์สวรรคตสุนทรภู่ก็เหมือนขาดที่พึ่งการกล่าวถึงชีวิตที่ตกอับไร้วาสนา
วัฒนธรรมด้านวิถีชีวิต: ถึงบ้านญวนเห็นมีโรงเรือนมากมาย มีคนค้าขายของเช่นกุ้งหรือปลาโดยการขังไว้ในข้อง ข้างหน้าโรงวางที่สำหรับดักปลาวางเรียงไว้ มีทั้งผู้หญิงและผู้ชายมาจับจ่ายซื้อของ จะมองกลับไปยังประเทศบ้านเกิดก็ทรมานเหมือนโดนไฟสุมในใจ จิตใจก็หม่นหมอง ล่องเรือมาจนถึงวัดเขมา ก็รู้ว่าพึ่งเลิกงานฉลองไปเมื่อวานซืน
วัฒนธรรมด้านการใช้ถ้อยคำ: ถึงหมู่บ้านบางพูดสุนทรภู่ก็นึกถึงคำว่าพูด ดังว่า ถ้าใครพูดดีก็จะมีคนรัก แต่ถ้าพูดไม่ดีก็อาจจะเป็นภัยต่อตนเองได้อีกทั้งยังไม่มีใครคบ ไม่มีเพื่อนสนิทมิตรสหาย ทั้งการจะดูว่าใครดีไม่ดีดูได้จากการพูด

วัฒนธรรมด้านความเชื่อ: ถึงวัดประโคนปักก็มองไปไม่เห็นเสาหินที่ลือกัน เป็นเสาที่สำคัญในแผ่นดิน ถึงจะไม่เห็นก็ขอเดชะพระพุทธคุณช่วย ขอให้อายุยืนหมื่นๆปี ดังเสาศิลา อยู่คู่ฟ้าดินได้ตลอดไป




                                                                                                                  ที่มา:https://www.google.co.th



ประวัติผู้แต่ง

        ► ประวัติสุนทรภู่ ◄   ► ผู้แต่งเรื่อง นิราศภูเขาทอง พระสุนทรโวหาร (ภู่) มีนามเดิมว่า ภู่ เป็นบุตรขุนศรีสังหาร (พลับ...