►ประวัติสุนทรภู่ ◄
► ผู้แต่งเรื่อง นิราศภูเขาทอง
พระสุนทรโวหาร (ภู่) มีนามเดิมว่า ภู่
เป็นบุตรขุนศรีสังหาร (พลับ) และแม่ช้อย เกิดในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อวันจันทร์ เดือนแปด ขึ้นหนึ่งค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาสองโมงเช้า
ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙ ที่บ้านใกล้กำแพงวังหลังคลองบางกอกน้อย
►ผลงานของสุนทรภู่
►ประเภทของนิราศ
1.นิราศเมืองแกลง
(พ.ศ. 2349) - แต่งเมื่อหลังพ้นโทษจากคุก และเดินทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง
2.นิราศพระบาท (พ.ศ. 2350) - แต่งหลังจากกลับจากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีในวันมาฆบูชา
2.นิราศพระบาท (พ.ศ. 2350) - แต่งหลังจากกลับจากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีในวันมาฆบูชา
3.นิราศภูเขาทอง (ประมาณ พ.ศ. 2371) - แต่งโดยสมมุติว่า
เณรหนูพัด เป็นผู้แต่งไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดอยุธยา
4. นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ. 2374) -
แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะที่จังหวัดสุพรรณบุรี
เป็นผลงานเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลง
5.นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ. 2375) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะตามลายแทงที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ (ไม่ปรากฏว่าที่จริงคือวัดใด) ที่จังหวัดอยุธยา
5.นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ. 2375) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะตามลายแทงที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ (ไม่ปรากฏว่าที่จริงคือวัดใด) ที่จังหวัดอยุธยา
6. นิราศอิเหนา
(ไม่ปรากฏ, คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลที่
3) แต่งเป็นเนื้อเรื่องอิเหนารำพันถึงนางบุษบา
7. รำพันพิลาป (พ.ศ. 2385) - แต่งเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม แล้วเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จึงบันทึกความฝันพร้อมรำพันความอาภัพของตัวไว้เป็น "รำพันพิลาป" จากนั้นจึงลาสิกขา
7. รำพันพิลาป (พ.ศ. 2385) - แต่งเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม แล้วเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จึงบันทึกความฝันพร้อมรำพันความอาภัพของตัวไว้เป็น "รำพันพิลาป" จากนั้นจึงลาสิกขา
8. นิราศพระประธม (พ.ศ. 2385) -
เชื่อว่าแต่งเมื่อหลังจากลาสิกขาและเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ไปนมัสการพระประธมเจดีย์ (หรือพระปฐมเจดีย์) ที่เมืองนครชัยศรี
9.นิราศเมืองเพชร
(พ.ศ. 2388) - แต่งเมื่อเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
เชื่อว่าไปธุระราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง
นิราศเรื่องนี้มีฉบับค้นพบเนื้อหาเพิ่มเติมซึ่ง อ.ล้อม เพ็งแก้ว เชื่อว่า
บรรพบุรุษฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชร
►ประเภทนิทาน
2. เรื่องพระอภัยมณี
3. เรื่องพระไชยสุริยา
4. เรื่องลักษณวงศ์
5. เรื่องสิงหไกรภพ
►ประเภทสุภาษิต
1. สวัสดิรักษา
คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์
2.สุภาษิตสอนหญิง
เป็นหนึ่งในผลงานซึ่งยังเป็นที่เคลือบแคลงว่า สุนทรภู่เป็นผู้ประพันธ์จริงหรือไม่
3.เพลงยาวถวายโอวาท
คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 3
ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว
►ประเภทบทละคร
►ประเภทบทเสภา
1.
เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอนกำเนิดพลายงาม)
2. เรื่องพระราชพงศาวดาร
2. เรื่องพระราชพงศาวดาร
►ประเภทบทเห่กล่อม
แต่งขึ้นสำหรับใช้ขับกล่อมหม่อมเจ้าในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ
กับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เท่าที่พบมี 4 เรื่อง
ดังนี้
1.เห่จับระบำ
2.เห่เรื่องพระอภัยมณี
3.เห่เรื่องโคบุตร
4.เห่เรื่องกากี
ที่มา:https://hilight.kapook.com